ประวัติวิทยาลัย อี.เทค

วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก เดิมเป็นสถานศึกษาของโรงเรียนเทคนิค พาณิชยการ พานทองจนเมื่อปี พ.ศ.2526 ได้มีนักบริหาร ที่มอง การณ์ไกล 7 ท่าน เห็นว่าที่แห่งนี้เหมาะสมจะเป็นสถานที่เพิ่ม พูนความรู้ ให้เยาวชนไทย ในแถบ ภาค ตะวันออก ท่านเหล่านี้ต้องการเห็นที่แห่งความ เจริญก้าวหน้า เพื่อเป็นศูนย์กลาง แห่งการศึกษาในด้าน วิชาชีพที่จะช่วยพัฒนาฝั่งทะเล ภาคตะวันออกสืบต่อไป เมื่อความคิด ณ จุดนี้เริ่มต้นเพื่อมุ่งหวัง ในการ พัฒนาชีวิตของ เยาวชนไทย ได้ก้าวเดินไปในถนนแห่งการศึกษา ก้าวไปเดินไปเดินให้ถึงจุดหมายปลาย ทางถึงแม้จะฝ่าฟันอุปสรรคสักปานใดก็ตามที

Sample background

นโยบายการบริหารงาน

Boss
  • อาคารสถานที่ อุปกรณ์การเรียนการสอน พร้อม
  • คณาจารย์ต้องผ่านการคัดเลือกอย่างมีคุณภาพ
  • ด้านคุณภาพนักเรียน

วิทยาลัยอี.เทคก่อตั้งอย่างเป็น ทางการ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2526 โดยคุณธำรงค์ สุขสวัสดิ์ และคณะ ได้ซื้อกิจการ โรงเรียนเทคนิค พาณิชยการพานทอง โดยมีคณาจารย์-เจ้าหน้าที่ได้รับโอนกิจการ 17 คน นักเรียน/นักศึกษา 101 คน พร้อมที่ดินจำนวน 26 ไร่ โดยจัดตั้งโรงเรียนในรูปแบบบริษัท

โดยใช้ชื่อว่า บริษัท อี.เทค จำกัด การดำเนินการขั้นแรกนั้น คณะกรรมการประกอบด้วย

  • คุณธำรงค์ สุขสวัสดิ์
  • คุณสมชาย งามวงษ์วาน
  • คุณสมหมาย ลาภอนันต์
  • คุณศักดิ์ชาย ไพบูลย์นันทพงศ์
  • คุณภุชงค์ บุณยรัตนสุนทร
  • คุณธีระ กิตติคุณาพงษ์
  • คุณพิชัย กิตติคุณาพงษ์
ชื่อเดิม EASTERN COLLEGE OF TECHNOLOGY(E.TECH)
คณะกรรมการดำเนินการ ได้ทำงานอย่างต่อเนื่อง ยอมเสียสละเวลาส่วนตัว มาปรึกษาหารือ จนในที่ สุด ก็ได้ตกลงใจกันเปลี่ยนชื่อโรงเรียน จาก โรงเรียนเทคนิคพาณิชการพานทองมา เป็น โรงเรียน เทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) โดยใช้สัญลักษณ์เป็นรูปคัตเตอร์หกแฉก มีรูปหนังสือตรงกลาง และ มีคำว่า E.TECH กำกับอยู่ มีสีประจำโรงเรียนคือ สีน้ำเงินขาว
พร้อมทั้งตั้งนโยบายหลักที่ต้องดำเนินการที่คาดหวังไว้ 3 ประการด้วยกันคือ ประการแรก อาคารสถานที่ อุปกรณ์การเรียนการสอน พร้อม ประการที่สอง คณาจารย์ต้องผ่านการคัดเลือกอย่างมีคุณภาพ ประการที่สาม ด้านคุณภาพนักเรียน สร้างอาคารหอประชุม สร้างอาคารหอประชุม และได้แต่งตั้ง คุณสมชาย งามวงษ์วาน เป็นผู้รับ ใบอนุญาต และผู้อำนวยการ โรงเรียน เทคโนโลยี ภาคตะวันออก (อี.เทค)พร้อมทั้งได้แต่งตั้ง อาจารย์ประเสริฐ กลิ่นชู ซึ่งเดิม ทำงานเป็นอาจารย์ใหญ่ อยู่โรงเรียนพาณิชยการ(ชลบุรี) วัดกลางมาเป็นผู้จัดการ โรงเรียน ซึ่งท่านเป็นบุคคลหนึ่ง ซึ่งทางคณะกรรมการ บริษัทเห็นชอบแล้วว่า มีความวิริยะอุตสาหะ และเป็น ผู้มี ประสบการณ์มีความสามารถ ในการบริหารโรงเรียนใน ระดับอาชีวศึกษาท่านพร้อมที่จะนำสถานศึกษาแห่งนี้ไปสู่ความสำเร็จได้

ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจาก โรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออก(อี.เทค) เป็นชื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) และ ชื่อภาษาอังกฤษว่า EASTERN TECHNOLOGICAL COLLEGE (E.TECH) และใช้ชื่อเรียกที่ติดปากว่า วิทยาลัยอี.เทคจนถึงปัจจุบัน

วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก เดิมเป็นสถานศึกษาของโรงเรียนเทคนิค พาณิชยการ พานทองจนเมื่อปี พ.ศ.2526 ได้มีนักบริหาร ที่มอง การณ์ไกล 7 ท่าน เห็นว่าที่แห่งนี้เหมาะสมจะเป็นสถานที่เพิ่ม พูนความรู้ ให้เยาวชนไทย ในแถบ ภาค ตะวันออก ท่านเหล่านี้ต้องการเห็นที่แห่งความ เจริญก้าวหน้า เพื่อเป็นศูนย์กลาง แห่งการศึกษาในด้าน วิชาชีพที่จะช่วยพัฒนาฝั่งทะเล ภาคตะวันออกสืบต่อไป เมื่อความคิด ณ จุดนี้เริ่มต้นเพื่อมุ่งหวัง ในการ พัฒนาชีวิตของ เยาวชนไทย ได้ก้าวเดินไปในถนนแห่งการศึกษา ก้าวไปเดินไปเดินให้ถึงจุดหมายปลาย ทางถึงแม้จะฝ่าฟันอุปสรรคสักปานใดก็ตามที


และแล้ววิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก(อี.เทค) แห่งนี้จึงได้เริ่มถือกำเนิดอย่างเป็น ทางการ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2526 โดยคุณธำรงค์ สุขสวัสดิ์ และคณะ ได้ซื้อกิจการ โรงเรียนเทคนิค พาณิชยการพานทอง โดยมีคณาจารย์-เจ้าหน้าที่ได้รับโอนกิจการ 17 คน นักเรียน/นักศึกษา 101 คน พร้อมที่ดินจำนวน 26 ไร่ โดยจัดตั้งโรงเรียนในรูปแบบบริษัท

โดยใช้ชื่อว่า บริษัท อี.เทค จำกัด การดำเนินการขั้นแรกนั้น คณะกรรมการประกอบด้วย

  • คุณธำรงค์ สุขสวัสดิ์
  • คุณสมชาย งามวงษ์วาน
  • คุณสมหมาย ลาภอนันต์
  • คุณศักดิ์ชาย ไพบูลย์นันทพงศ์
  • คุณภุชงค์ บุณยรัตนสุนทร
  • คุณธีระ กิตติคุณาพงษ์
  • คุณพิชัย กิตติคุณาพงษ์

คณะกรรมการดำเนินการ ได้ทำงานอย่างต่อเนื่อง ยอมเสียสละเวลาส่วนตัว มาปรึกษาหารือ จนในที่ สุด ก็ได้ตกลงใจกันเปลี่ยนชื่อโรงเรียน จาก โรงเรียนเทคนิคพาณิชการพานทองมา เป็น โรงเรียน เทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) โดยใช้สัญลักษณ์เป็นรูปคัตเตอร์หกแฉก มีรูปหนังสือตรงกลาง และ มีคำว่า E.TECH กำกับอยู่ มีสีประจำโรงเรียนคือ สีน้ำเงินขาว


พร้อมทั้งตั้งนโยบายหลักที่ต้องดำเนินการที่คาดหวังไว้ 3 ประการด้วยกันคือ

  • ประการแรก อาคารสถานที่ อุปกรณ์การเรียนการสอน พร้อม
  • ประการที่สอง คณาจารย์ต้องผ่านการคัดเลือกอย่างมีคุณภาพ
  • ประการที่สาม ด้านคุณภาพนักเรียน

และได้แต่งตั้ง คุณสมชาย งามวงษ์วาน เป็นผู้รับ ใบอนุญาต และผู้อำนวยการ โรงเรียน เทคโนโลยี ภาคตะวันออก (อี.เทค)พร้อมทั้งได้แต่งตั้ง อาจารย์ประเสริฐ กลิ่นชู ซึ่งเดิม ทำงานเป็นอาจารย์ใหญ่ อยู่โรงเรียนพาณิชยการ(ชลบุรี) วัดกลางมาเป็นผู้จัดการ โรงเรียน ซึ่งท่านเป็นบุคคลหนึ่ง ซึ่งทางคณะกรรมการ บริษัทเห็นชอบแล้วว่า มีความวิริยะอุตสาหะ และเป็น ผู้มี ประสบการณ์มีความสามารถ ในการ บริหารโรงเรียนใน ระดับ อาชีวศึกษาท่าน พร้อมที่จะนำสถานศึกษาแห่งนี้ไปสู่ความสำเร็จได้ หลังจากนั้น ไม่นานแผนการก่อสร้าง อาคารสถานที่ก็เริ่มขึ้น

  • ปี พ.ศ.2526 สร้างตึกหอประชุมและโรงภาพยนต์
  • ปีพ.ศ.2527 อาคาร 2 อาคารเรียน 4 ชั้นค่อยๆเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาพร้อมกับโรงฝึกงาน แผนกช่าง ก่อสร้าง ตามมาด้วยการสร้างถนนทำทาง จากถนนใหญ่สายชลบุรี-พนัสนิคม เข้าสู่ภายในตัวอาคารเรียน ละการก่อสร้างศาลเจ้าแม่กวนอิมกับพระวิษณุไว้ เพื่อเป็นศิริ มงคลเป็นที่สักการะของชาวอี.เทค
  • ปี พ.ศ.2528 ก็เริ่มสร้างอาคาร 3 เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น เพื่อขยายรับนักเรียน ม.3 เข้า ศึกษาต่อวิชา ช่าง อุตสาหกรรมเป็นรุ่นแรกอีก 3 แผนกคือแผนกช่างยนต์แผนกช่างไฟฟ้า กำลังและแผนกช่างอิเลคทรอนิคส์
  • ปี พ.ศ.2529 ก็เปิดรับนักเรียน ในระดับ ปวท.และปวส.สาขาการบัญชี การตลาด การเงิน การธนาคารและ คอมพิวเตอร์ธุรกิจเพิ่มขึ้นอีก
  • ปี พ.ศ.2532 ได้สร้างอาคารเอนกประสงค์ขึ้นมาอีก 1 หลัง เพื่อเป็นโรงอาหาร หอประชุมสหกรณ์ห้อง ซ้อมดนตรี และห้องสมุด
  • ปี พ.ศ.2533 ได้สร้างโรงฝึกงานใหม่ 2 ชั้นเพื่อเป็นโรงฝึกงานของช่างยนต์
  • ปี พ.ศ.2535 ได้สร้างโรงฝึกงานส่วนบนอีก 2 ชั้น เพื่อเป็นโรงฝึกงานของ ปวส. แผนก ช่างยนต์แผนกช่าง ไฟฟ้ากำลัง ที่เปิดในปีการศึกษา 2536
  • ปี พ.ศ.2536 สร้างตึกหอประชุมและโรงภาพยนต์
  • ปี พ.ศ.2537 ได้สร้างอาคารอำนวยการและอาคารปฎิบัติสำนักงาน 4 ชั้นและหอพระ พระพุทธสิหิงค์ จำลองเพื่อเป็นที่สักการะของชาว อี.เทค มีการสร้างสะพานลอย ข้ามถนนหน้าโรงเรียน
  • ปี พ.ศ.2538 ได้มีการปรับปรุงสนามใหม่ทั้งหมดเพื่อจะได้มีพื้นที่ออกกำลังกายของนักเรียน นักศึกษา และเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
  • ปี พ.ศ.2541 ได้สร้างอาคารศูนย์ภาษาต่างประเทศ 5 ชั้น
  • ปี พ.ศ.2542 ได้สร้างโรงฝึกงานใหม่ 4 ชั้น แทนโรงฝึกงานช่างก่อสร้างเดิม
  • ปี พ.ศ. 2545 ได้ติดแอร์อาคารเรียน ทฤษฎี ทุกห้องเรียน อาคาร 3 ทั้งอาคารจำนวน 4 ชั้น พร้อม ปรับปรุ่งพื้น ห้องเรียนเป็น หินอ่อน ทุกห้อง
  • ปี พ.ศ. 2546 สร้าง โรงยิมสนามกีฬา อะเนกประสงค์ สร้างเวที สำหรับการแสดงออกของ นักศึกษา และ สร้างหลังคาคลุมสพานลอยข้ามถนน หน้าโรงเรียน

  • ปี พ.ศ. 2547 สร้างอาคารเรียน 5 ชั้น เป็นอาคาร 11 รองรับนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นและเป็น ห้องเรียน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ที่ทำความร่วมมือกับอี.เทคในการจัดการเรียนการสอน นอกสถาบัน







  • ปี พ.ศ. 2549 ปรับปรุงระบบ Internet เพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่มากขึ้น และปรับปรุง จอคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนอาคาร 9 ชั้น 2 เป็นแบบ LCD ที่ดูทันสมัยและสวยงาม ทุกห้อง







  • ปี พ.ศ 2550 เราปรับปรุงและเพิ่มสาขาวิชา คอมพิวเตอร์ กราฟฟิก (Computer Graphic) โดย เพิ่มห้องเรียน คอมพิวเตอร์เป็นเครื่อง iMac ใหม่ทั้งหมด จำนวน 53 เครื่อง สำหรับผู้ที่เรียน สาขา ทางด้านกราฟฟิก โดยตรงเนื่องจาก เครื่อง PC ทั่วไปประสิทธิภาพ ในการทำงาน อาจไม่ เท่าเครื่อง iMac






  • ปี พ.ศ. 2553 ซื้อพืนที่ด้านหลังอาคาร 4 เพื่อใช้เป็นสนามฟุตบอลขนาดใหญ่
  • ปี พ.ศ. 2554 ได้รับการเปลี่ยนชื่อจาก โรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เ่ทค) เป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) หรือที่เรียกกันติดปากว่า วิทยาลัยอี.เทค และนอกจากนี้จัดสร้างห้องน้ำที่ทันสมัย สวยหรู เพื่อให้นักศึกษาสะดวกสะบายในการใช้สอย พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ ให้ดูร่มรื่นคล้ายรีสอร์ท
  • ปี พ.ศ. 2555 สร้างหลังคาโดมขนาดใหญ่ คลุมพื้นที่สนามหน้าเสาธงทั้งหมด เพื่อเป็นร่มให้นักศึกษา
  • ปี พ.ศ. 2556 สร้างอาคารใหม่ (อาคาร 12 ) สำหรับขยายวิทยาลัยเพื่อรองรับนักศึกษาที่มากกว่า 10,000 คน ทั้งนี้ได้จัดตั้งวิทยาลัยขึ้นมากอีกหนึ่งชื่อโดยใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) ชลบุรี" ซึ่งคล้ายๆชื่อเดิม เพียงแต่เพิ่มคำว่า "ชลบุรี" ต่อท้ายไปเท่านั้นเอง โดยแต่งตั้ง อ.อัมพร อุนทสูรย์ เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ และแต่งตั้ง อ. พัสตราภรณ์ ธรรมสอน เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
  • ปี่ พ.ศ. 2557 วิทยาลัยสร้าง ศูนย์อาหาร ใหม่ด้านหน้าอาคาร 1 (หน้าอี.เทคมาร์ท) และสร้างหลังคาคลุม อารีน่า 3 บริเวณด้านหน้าอาคาร 12 เพื่อใช้เป็นสถานที่จอดรถของคณาจารย์เจ้าหน้าที่



  • ปี พ.ศ. 2559 วิทยาลัยสร้างห้อง E-Library บนชั้น 6 อาคาร 11 เป็นจุดให้บริการ ห้องสมุดดิจิตอล พร้อมกันนี้ยังมีห้อง Co-Working 2 ห้องสำหรับให้บริการกับนักศึกษา และ คณาจารย์ ใช้ในการประชุม หรืองานเกี่ยวกับการสัมนา โครงงานนักศึกษา เป็นต้น และในปีเดียวกันนี้ อี.เทค สร้างลิฟท์แก้ว เพื่อใช้ในการขึ้นลง บนอาคาร 11 อีกด้วย




จากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบันนี้มีคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่จำนวน กว่า 400 คนและนักเรียน-นักศึกษาทั้งภาคเช้าและภาคสมทบทั้งหมดหมื่นกว่า คน

ข่าวสารอื่นๆ